การให้ความสำคัญด้านคุณค่าและประโยชน์ของการเล่นกีฬาเบสบอล

การสื่อสารเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการแข่งกีฬาเบสบอล

Posts Tagged ‘อาการบาดเจ็บ’

อาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้จากการเล่นกีฬาเบสบอล

Comments Off on อาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้จากการเล่นกีฬาเบสบอล

November 2nd, 2015 Posted 3:55pm

อาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้จากการเล่นกีฬาเบสบอล
การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬานั้นมีประโยชน์ แต่หากทำโดยไม่ถูกวิธีก็อาจจะเกิดโทษได้ กีฬาแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป หากจะเลือกเล่นกีฬาชนิดใดก็ควรศึกษาให้ดีก่อนนอกจากนี้ร่างกายของแต่ละคนมีความทนทานไม่เท่ากัน หากหักโหมเล่นกีฬาติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจจะเป็นลมหรือบาดเจ็บได้ การเล่นกีฬาที่ได้ประโยชน์จึงควรเลือกให้เหมาะกับสภาพร่างกาย ไม่หนักเกินไป ไม่นานเกินไป แต่ทำเป็นประจำสม่ำเสมอจะเป็นผลดีต่อสุขภาพที่สุด

อาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้จากการเล่นกีฬาเบสบอล อาจทำให้กล้ามเนื้อขัดยอก ข้อเคล็ด ข้อมือหักหรือหลุด หรือเกิดบาดแผลจากการกระแทกของลูกบอลหรือไม้ตี ฟันหัก หรือไขสันหลังถูกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง การป้องกันการบาดเจ็บของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ อีกวิธีหนึ่งที่มีความสำคัญมาก นอกเหนือจากการใช้อุปกรณ์การเล่นกีฬา และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม คือการอบอุ่นร่างกายก่อนการออกกำลังกาย เป็นการเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อนการออกกำลังกาย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะประกอบด้วยการยืดกล้ามเนื้อเพื่อให้เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นก่อนเริ่มเล่นกีฬาเพื่อลดการบาดเจ็บ และการเตรียมความพร้อมของระบบหัวใจ และหลอดเลือดโดยการเดินหรือวิ่งเยาะๆ ก่อนเริ่มเล่นกีฬาประมาณ 5-10 นาที

การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. อาการบาดเจ็บเฉียบพลัน คือการบาดเจ็บเกิดขึ้นทันที เช่น เส้นเอ็นฉีกขาด กระดูกหัก
  2. อาการบาดเจ็บเรื้อรัง คืออาการบาดเจ็บที่เกิดซ้ำๆ ที่เดิมและสะสมมานาน เช่น การวิ่ง ทำให้หัวเข่าต้องรับน้ำหนักและแรงกระแทก จะทำให้เกิดการสึกกร่อนจนเกิดอาการข้อเข่าเสื่อมขึ้นได้ กีฬาบางชนิดหากเคลื่อนไหวร่างกายอย่างไม่เหมาะสมเป็นประจำ ก็อาจทำให้บาดเจ็บเรื้อรังได้ เช่น การเล่นเทนนิส การตีกอล์ฟ

การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬานั้นมีประโยชน์ แต่หากทำโดยไม่ถูกวิธีก็อาจจะเกิดโทษได้ เช่น เกิดการบาดเจ็บขึ้น ก่อนจะออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาควรวอร์มร่างกายก่อนทุกครั้งอย่างน้อย 15-20 นาที เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ อาจเริ่มจากเดินช้าๆ แล้วเร่งความเร็วขึ้นเรื่อยๆ หรืออาจจะวิ่งเหยาะๆ สะบัดแขนขา หมุนหัวไหล่ หัวเข่า คอ เป็นต้น นอกจากนี้ควรมีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เช่น เหยียดแขนออกช้าๆ จนรู้สึกตึง ค้างไว้ประมาณ 15 วินาที สลับทำอีกข้าง แล้วทำที่ขาเช่นเดียวกัน